ติดต่อสอบถามผ่านไลน์ รร.อนุบาลแสงอารีย์
ติดต่อสอบถามผ่านไลน์
ไอดี:@sangaree
ด้วย ความ เข้าใจ จากประสบการณ์การทำงานกับเด็กที่ยาวนานกว่า 30 ปี ทุกกิจกรรมการเรียนรู้ของโรงเรียนจึงถูกออกแบบและสรรค์สร้างอย่างมีความหมายต่อชีวิตเด็ก ส่งเสริมความฉลาดรอบด้าน ใฝ่รู้ เป็นคนเก่งที่ดีมีจริยธรรม รู้รับปรับใช้เทคโนโลยีและองค์ความรู้ใหม่ให้สอดคล้องกับความเป็นไทย เราจึงการเตรียมกิจกรรมไว้หลากหลายรองรับความสนใจและความแตกต่างระหว่า... อ่านต่อ         สวัสดีค่ะ ทุกท่าน โรงเรียนอนุบาลแสงอารีย์ มีความมุ่งหวัง ที่จะจัดการศึกษาให้ นักเรียนเป็นบุคคลที่มีคุณภาพและมีความสามารถเต็มศักยภาพ โดยให้นักเรียนมี พัฒนาการที่สมดุลทั้งร่างกาย อารมณ์-จิตใจ สังคมและสติปัญญา ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้อง กับพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542
      โรงเรียนแสงอารีย์ ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 4 ซ.ประชาอุทิศ 29 ถ.ประชาอุทิศ เเขวง-เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพฯ 10140 โทร. 02-427-6925, 02-427-9875, 02-872-8438 #0 แฟกซ์ 02-872-7830
   
เด็กหญิงชญาณ์นันท์ รชตะวิวรรธน์ (น้องจิณณะ) สามารถสอบเข้าโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2559
โรงเรียนอนุบาลแสงอารีย์ ขอแสดงความยินดีกับเด็กหญิงชญาณ์นันท์ รชตะวิวรรธน์ (น้องจิณณะ) ที่สามารถสอบเข้าโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2559 (12/10/2560) (12/10/2560)
 
   
เด็กชายวชิรวินทร์ อัศวรุ่งโรจน์ (น้องริว) สามารถสอบเข้าโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2559
โรงเรียนอนุบาลแสงอารีย์ ขอแสดงความยินดีกับ เด็กชายวชิรวินทร์ อัศวรุ่งโรจน์ ที่สามารถสอบเข้าโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2559 (12/10/2560)
 
   
ขอแสดงความยินดี
ด.ญ.ณัฐปภัสร์ รชตะวิวรรธน์ น้องปัณปัณ K.2/1 Bilingual Program ปีการศึกษา 2556 สอบเข้าโรงเรียนสาธิตประสานมิตร จากจำนวนผู้เข้าสอบทั้งหมด 2300 คน รับ 100 คน (20/6/2557)
 

สาธารณสุขเตือน การแพร่ระบาดของ โรคมือ เท้า ปาก

 

เรียน ท่านผู้ปกครองทราบ
อ้างถึง หนังสือที่ ศธ 0211.6/5288 เนื่องด้วยกระทรวงสาธารณสุข แจ้งว่ามีการระบาดของโรคมือ เท้า ปาก ที่ประเทศจีน ตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคม 2551 จึงถึงปัจจุบัน(ข้อมูล ณ เมษายน 2551) พบผู้ป่วยเด็กโรคมือ เท้า ปาก รวม 1,884 ราย โดยคาดการณ์ว่า ยังมีการระบาดของโรคอีกหลายประเทศในทวีปเอเซีย โรงเรียนจึง ขอนำความรู้เกี่ยวกับโรคมือ เท้า ปาก  มาให้ทราบเพื่อช่วยกันดูแลป้องกันบุตรหลานของเรานะคะ
พฤติกรรมที่ควรใส่ใจ
1.      ไม่ควรนำเด็กเล็กไปในที่ชุมชนสาธารณะที่มีคนอยู่เป็นจำนวนมากๆ ควรอยู่ในทีที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก
2.      ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ ก่อนและหลังจับอาหาร หรือเตรียมอาหาร และหลังการขับถ่าย ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่
3.      ใช้ผ้าเช็ดหน้าปิดปากและจมูก เมื่อไอหรือจาม หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย
4.      ไม่ใช้ภาชนะหรือสิ่งของร่วมกัน เช่นจาน ชาม ช้อน แก้วน้ำ หลอด
ด้วยความปรารถนาดีจาก...อนุบาลแสงอารีย์
คำถาม-คำตอบ โรคมือ เท้า ปาก
กองควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 18 ตุลาคม2550
1.โรคมือเท้าปาก คือโรคอะไร
            โรคมือ เท้า ปาก เป็นกลุ่มอาการหนึ่งของโรคติดเชื้อเอนเทอโรไวรัส อาการป่วยได้แก่ มีไข้ มีจุดหรือผื่นแดงอักเสบในปาก มักพบในลิ้น เหงือก และกระพุ้งแก้ม และเกิดผื่นแดงซึ่งจะกลายเป็นตุ่มพองใสรอบๆแดง(มักไม่คัน เวลากดจะเจ็บ) ที่บริเวณ ฝ่ามือ นิ้วมือ และฝ่าเท้า โรคนี้พบบ่อยในเด็กทารกและเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี พบน้อยลงในอายุต่ำกว่า 10 ปี และน้อยมาในเด็กวัยรุ่น
 
2.โรคนี้พบที่ใดบ้าง
            ในเขตร้อนชื้น เกิดแบบประปรายตลอดปี พบมากในฤดูฝน ซึ่งอากาศเย็นและชื้น มักระบาดในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาล
 
3.โรคมือ เท้า ปาก ติดต่อได้อย่างไร
            มักติดต่อโดยรับเชื้อจากอุจจาระ ฝอยละอองน้ำมูก น้ำลาย หรือน้ำตุ่มพองหรือแผลของผู้ป่วยเข้าสู่ปาก การติดต่อทางน้ำหรืออาหารมี โอกาสเกิดขึ้นน้อย การแพร่ติดต่อเกิดขึ้นค่อนข้างง่ายในช่วงสัปดาห์แรกของการป่วย แม้อาการทุเลาลงแล้ว ก็ยังอาจแพร่เชื้อได้บ้าง เนื้อจากเชื้อจะถูกขับออกมากับอุจจาระได้นานถึง 6 สัปดาห์
 
4.หากติดเชื้อแล้วจะเริ่มแสดงอาการเมื่อใด
            ส่วนใหญ่แสดงอาการป่วยภายใน 3-5 วัน หลังได้รับเชื้อ โดยไข้เป็นอาการเริ่มแรกของโรค
 
5.อาการของโรคเป็นอย่างไร
            - เริ่มด้วยไข้(อาจเป็นไข้สูงในช่วง 1-2 วันแรก และลดลงเป็นไข้ต่ำๆอีก 2-3 วัน)
            - มีจุดหรือผื่นแดงอักเสบในปาก มักพบที่ลิ้น เหงือก และกระพุ้งแก้ม ทำให้เจ็บปากไม่อยากทานอาหาร จะเกิดผื่นแดง ซึ่งจะกลายเป็นตุ่มพองใสรอบๆแดง ที่บริเวณฝ่ามือ นิ้วมือ ฝ่าเท้า และอาจพบที่ก้น หัวเข่าฯลฯ ผื่นนี้จะกลายเป็นตุ่มพองใสรอบๆแดง มักไม่คันแต่เวลากดจะเจ็บ ต่อมาจะแตกออกเป็นหลุมตื้นๆ อาการจะดีขึ้นและแผลหายไปใน 7-10 วัน
            - เด็กทารกและอายุต่ำกว่า 5 ปี บางรายอาจมีอาการแทรกซ้อนรุนแรง เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ, ก้านสมองอักเสบ ตามมาด้วยปอดบวมน้ำ สัญญาณอันตรายได้แก่ ไข้สูงไม่ลดลง ซึม อาเจียนบ่อย หอบ แขนขาอ่อนแรง เป็นต้น
 
6.ใครบ้างที่เป็นกลุ่มเสียงจะเป็นโรคมือ เท้า ปาก ที่รุนแรง
            โดยทั่วไปโรคมือ เท้า ปาก เป็นโรคที่ไม่อันตราย ในประเทศไทยพบโรคนี้ได้บ่อยแต่ไม่มีความรุนแรง ผู้ได้รับเชื้อส่วนใหญ่ หายได้เองภายใน 7-10 วัน และแทบไม่มีผู้เสียชีวิตเลย 
 
7.วินิจฉัยโรคมือ เท้า ปาก ได้อย่างไร
            โดยทั่วไปแพทย์จะวินิจฉัยจากอายุ ประวัติ และอาการ โดยสังเกตลักษณะผื่นหรือตุ่มแผลต่างๆที่ปรากฏ รวมถึงวินิจฉัยแยกจากโรคที่มีอาการแผลในปากอื่นๆ
 
8.โรคนี้รักษาได้หรือไม่
            รักษาได้ตามอาการ โดยทั่วไปใช้การรักษาเพื่อบรรเทาอาการต่างๆ เช่น การใช้ยาลดไข้ ยาแก้ปวด ฯลฯ แต่ไม่มียาต้านไวรัสชนิดนี้โดยเฉพาะ โรคนี้ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้และพัก ผ่อนพอ ส่วนใหญ่อาการจะไม่รุนแรงและหายได้เองในช่วง 7-10 วัน แต่ผู้ดูแลควรดูแลอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะทารก เด็กเล็ก และผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เพื่อสังเกตอาการแทรกซ้อน
 
9.จะป้องกันโรคมือ เท้า ปากได้อย่างไร
            โรคนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน แต่ป้องกันได้ด้วยสุขอนามัยส่วนบุคคลที่ดี เช่น การล้างมือด้วยน้ำและสบู่ เป็นประจำหลังจากการขับถ่ายหรือเปลี่ยนผ้าอ้อมเด็ก และก่อนรับประทานอาหาร หรือป้อนอาหารเด็ก รวมถึงไม่คลุกคลี ใช้ภาชนะอาหาร หรือของใช้ร่วมกับผู้ป่วย ร่วมกับรักษาความสะอาดทั่วๆไป การจัดการสิ่งแวดล้อม เช่น ห้องน้ำ ห้องส้วม ห้องครัวให้ถูกสุขลักษณะ
 
10.หากบุตรหลานมีอาการป่วย ควรทำอย่างไร
            แยกเด็กป่วยเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่ไปยังเด็กคนอื่นๆ ผู้ปกครองควรพาไปพบแพทย์ และหยุดรักษาตัวที่บ้านประมาณ 5- 7 วัน หรือจนกว่าจะหายเป็นปกติ ระหว่างนี้ควรสังเกตอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น แต่หากเด็กมีอาการแทรกซ้อน เช่น ไข้สูง ซึม อาเจียน หอบ เป็นต้น ต้องรีบพากลับไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลทันที
            ไม่ควรพาไปสถานที่แออัด เช่นตลาด ห้างสรรพสินค้า ควรอยู่ในที่อากาศถ่ายเท ใช้ผ้าปิดจมูกเวลาไอจาม และระมัดระวังการไอจามรดกัน ผู้เลี้ยงดูเด็กต้องล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย หรืออุจจาระเด็กป่วย เน้นการล้างมือบ่อยๆ
 
11.จะทำลายเชื้อได้อย่างไร
            - เชื้อนี้ถูกทำลายโดยแสงอุลตร้าไวโอเล็ต ในสสภาพที่แห้ง เชื้อจะมีชีวิตอยู่ไม่นาน
            - เชื้อนี้ถูกทำลายโดยการต้มที่ 50-60 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที
            - เชื้อนี้ถูกทำลายโดยน้ำยาซักล้างทั่วไป หากทำลายเชื้อในอุจจาระต้องใช้คลอรีนที่เข้มข้นมากกว่านี้
            - เชื้อนี้ถูกทำลายโดยวิธีทำให้ปราศจากเชื้อ
 
12.คลอรีนในสระว่ายน้ำฆ่าเชื้อโรคมือ เท้า ปาก ได้หรือไม่
            ความเข้มข้นของคลอรีนในสระว่ายน้ำตามมาตรฐานต้องมีอย่างน้อย 1 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งมีปริมาณคลอรีนเพียงพอที่จะทำลายเชื้อได้
เรียน ท่านผู้ปกครองทราบ
อ้างถึง หนังสือที่ ศธ 0211.6/5288 เนื่องด้วยกระทรวงสาธารณสุข แจ้งว่ามีการระบาดของโรคมือ เท้า ปาก ที่ประเทศจีน ตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคม 2551 จึงถึงปัจจุบัน(ข้อมูล ณ เมษายน 2551) พบผู้ป่วยเด็กโรคมือ เท้า ปาก รวม 1,884 ราย โดยคาดการณ์ว่า ยังมีการระบาดของโรคอีกหลายประเทศในทวีปเอเซีย โรงเรียนจึง ขอนำความรู้เกี่ยวกับโรคมือ เท้า ปาก  มาให้ทราบเพื่อช่วยกันดูแลป้องกันบุตรหลานของเรานะคะ
พฤติกรรมที่ควรใส่ใจ
1.      ไม่ควรนำเด็กเล็กไปในที่ชุมชนสาธารณะที่มีคนอยู่เป็นจำนวนมากๆ ควรอยู่ในทีที่มีอากาศถ่ายเทสะดวก
2.      ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ ก่อนและหลังจับอาหาร หรือเตรียมอาหาร และหลังการขับถ่าย ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่
3.      ใช้ผ้าเช็ดหน้าปิดปากและจมูก เมื่อไอหรือจาม หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย
4.      ไม่ใช้ภาชนะหรือสิ่งของร่วมกัน เช่นจาน ชาม ช้อน แก้วน้ำ หลอด
ด้วยความปรารถนาดีจาก...อนุบาลแสงอารีย์
คำถาม-คำตอบ โรคมือ เท้า ปาก
กองควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข 18 ตุลาคม2550
1.โรคมือเท้าปาก คือโรคอะไร
            โรคมือ เท้า ปาก เป็นกลุ่มอาการหนึ่งของโรคติดเชื้อเอนเทอโรไวรัส อาการป่วยได้แก่ มีไข้ มีจุดหรือผื่นแดงอักเสบในปาก มักพบในลิ้น เหงือก และกระพุ้งแก้ม และเกิดผื่นแดงซึ่งจะกลายเป็นตุ่มพองใสรอบๆแดง(มักไม่คัน เวลากดจะเจ็บ) ที่บริเวณ ฝ่ามือ นิ้วมือ และฝ่าเท้า โรคนี้พบบ่อยในเด็กทารกและเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี พบน้อยลงในอายุต่ำกว่า 10 ปี และน้อยมาในเด็กวัยรุ่น
 
2.โรคนี้พบที่ใดบ้าง
            ในเขตร้อนชื้น เกิดแบบประปรายตลอดปี พบมากในฤดูฝน ซึ่งอากาศเย็นและชื้น มักระบาดในศูนย์เด็กเล็กและโรงเรียนอนุบาล
 
3.โรคมือ เท้า ปาก ติดต่อได้อย่างไร
            มักติดต่อโดยรับเชื้อจากอุจจาระ ฝอยละอองน้ำมูก น้ำลาย หรือน้ำตุ่มพองหรือแผลของผู้ป่วยเข้าสู่ปาก การติดต่อทางน้ำหรืออาหารมีโอกาสเกิดขึ้นน้อย การแพร่ติดต่อเกิดขึ้นค่อนข้างง่ายในช่วงสัปดาห์แรกของการป่วย แม้อาการทุเลาลงแล้ว ก็ยังอาจแพร่เชื้อได้บ้าง เนื้อจากเชื้อจะถูกขับออกมากับอุจจาระได้นานถึง 6 สัปดาห์
 
4.หากติดเชื้อแล้วจะเริ่มแสดงอาการเมื่อใด
            ส่วนใหญ่แสดงอาการป่วยภายใน 3-5 วัน หลังได้รับเชื้อ โดยไข้เป็นอาการเริ่มแรกของโรค
 
5.อาการของโรคเป็นอย่างไร
            - เริ่มด้วยไข้(อาจเป็นไข้สูงในช่วง 1-2 วันแรก และลดลงเป็นไข้ต่ำๆอีก 2-3 วัน)
            - มีจุดหรือผื่นแดงอักเสบในปาก มักพบที่ลิ้น เหงือก และกระพุ้งแก้ม ทำให้เจ็บปากไม่อยากทานอาหาร จะเกิดผื่นแดง ซึ่งจะกลายเป็นตุ่มพองใสรอบๆแดง ที่บริเวณฝ่ามือ นิ้วมือ ฝ่าเท้า และอาจพบที่ก้น หัวเข่าฯลฯ ผื่นนี้จะกลายเป็นตุ่มพองใสรอบๆแดง มักไม่คันแต่เวลากดจะเจ็บ ต่อมาจะแตกออกเป็นหลุมตื้นๆ อาการจะดีขึ้นและแผลหายไปใน 7-10 วัน
            - เด็กทารกและอายุต่ำกว่า 5 ปี บางรายอาจมีอาการแทรกซ้อนรุนแรง เช่น เยื่อหุ้มสมองอักเสบ, ก้านสมองอักเสบ ตามมาด้วยปอดบวมน้ำ สัญญาณอันตรายได้แก่ ไข้สูงไม่ลดลง ซึม อาเจียนบ่อย หอบ แขนขาอ่อนแรง เป็นต้น
 
6.ใครบ้างที่เป็นกลุ่มเสียงจะเป็นโรคมือ เท้า ปาก ที่รุนแรง
            โดยทั่วไปโรคมือ เท้า ปาก เป็นโรคที่ไม่อันตราย ในประเทศไทยพบโรคนี้ได้บ่อยแต่ไม่มีความรุนแรง ผู้ได้รับเชื้อส่วนใหญ่ หายได้เองภายใน 7-10 วัน และแทบไม่มีผู้เสียชีวิตเลย 
 
7.วินิจฉัยโรคมือ เท้า ปาก ได้อย่างไร
            โดยทั่วไปแพทย์จะวินิจฉัยจากอายุ ประวัติ และอาการ โดยสังเกตลักษณะผื่นหรือตุ่มแผลต่างๆที่ปรากฏ รวมถึงวินิจฉัยแยกจากโรคที่มีอาการแผลในปากอื่นๆ
 
8.โรคนี้รักษาได้หรือไม่
            รักษาได้ตามอาการ โดยทั่วไปใช้การรักษาเพื่อบรรเทาอาการต่างๆ เช่น การใช้ยาลดไข้ ยาแก้ปวด ฯลฯ แต่ไม่มียาต้านไวรัสชนิดนี้โดยเฉพาะ โรคนี้ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้และพักผ่อนพอ ส่วนใหญ่อาการจะไม่รุนแรงและหายได้เองในช่วง 7-10 วัน แต่ผู้ดูแลควรดูแลอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะทารก เด็กเล็ก และผู้ที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เพื่อสังเกตอาการแทรกซ้อน
 
9.จะป้องกันโรคมือ เท้า ปากได้อย่างไร
            โรคนี้ยังไม่มีวัคซีนป้องกัน แต่ป้องกันได้ด้วยสุขอนามัยส่วนบุคคลที่ดี เช่น การล้างมือด้วยน้ำและสบู่ เป็นประจำหลังจากการขับถ่ายหรือเปลี่ยนผ้าอ้อมเด็ก และก่อนรับประทานอาหาร หรือป้อนอาหารเด็ก รวมถึงไม่คลุกคลี ใช้ภาชนะอาหาร หรือของใช้ร่วมกับผู้ป่วย ร่วมกับรักษาความสะอาดทั่วๆไป การจัดการสิ่งแวดล้อม เช่น ห้องน้ำ ห้องส้วม ห้องครัวให้ถูกสุขลักษณะ
 
10.หากบุตรหลานมีอาการป่วย ควรทำอย่างไร
            แยกเด็กป่วยเพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อแพร่ไปยังเด็กคนอื่นๆ ผู้ปกครองควรพาไปพบแพทย์ และหยุดรักษาตัวที่บ้านประมาณ 5- 7 วัน หรือจนกว่าจะหายเป็นปกติ ระหว่างนี้ควรสังเกตอาการผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น แต่หากเด็กมีอาการแทรกซ้อน เช่น ไข้สูง ซึม อาเจียน หอบ เป็นต้น ต้องรีบพากลับไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลทันที
            ไม่ควรพาไปสถานที่แออัด เช่นตลาด ห้างสรรพสินค้า ควรอยู่ในที่อากาศถ่ายเท ใช้ผ้าปิดจมูกเวลาไอจาม และระมัดระวังการไอจามรดกัน ผู้เลี้ยงดูเด็กต้องล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย หรืออุจจาระเด็กป่วย เน้นการล้างมือบ่อยๆ
 
11.จะทำลายเชื้อได้อย่างไร
            - เชื้อนี้ถูกทำลายโดยแสงอุลตร้าไวโอเล็ต ในสสภาพที่แห้ง เชื้อจะมีชีวิตอยู่ไม่นาน
            - เชื้อนี้ถูกทำลายโดยการต้มที่ 50-60 องศาเซลเซียส นาน 30 นาที
            - เชื้อนี้ถูกทำลายโดยน้ำยาซักล้างทั่วไป หากทำลายเชื้อในอุจจาระต้องใช้คลอรีนที่เข้มข้นมากกว่านี้
            - เชื้อนี้ถูกทำลายโดยวิธีทำให้ปราศจากเชื้อ
 
12.คลอรีนในสระว่ายน้ำฆ่าเชื้อโรคมือ เท้า ปาก ได้หรือไม่
            ความเข้มข้นของคลอรีนในสระว่ายน้ำตามมาตรฐานต้องมีอย่างน้อย 1 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งมีปริมาณคลอรีนเพียงพอที่จะทำลายเชื้อได้
 

เขียนเมื่อ 26 สิงหาคม 2551 | อ่าน 1063
เขียนโดย

อ่านข่าวประชาสัมพันธ์อื่นๆ 10 อันดับล่าสุด
เด็กหญิงชญาณ์นันท์ รชตะวิวรรธน์ (น้องจิณณะ) สามารถสอบเข้าโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2559
เด็กชายวชิรวินทร์ อัศวรุ่งโรจน์ (น้องริว) สามารถสอบเข้าโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปีการศึกษา 2559
ขอแสดงความยินดี
สอบปลายภาค
ขอแสดงความยินดี
คนเก่งแสงอารีย์ ปีการศึกษา 2555
จดหมายเปิดภาคเรียนที่ 2/2555
น้องเป็ก เปรมณัช, น้องอีอฟ AF6 ศิษย์เก่า ไปร่วมงานฌาปนกิจผู้ก่อตั้งโรงเรียนอนุบาลแสงอารีย์
จดหมายเปิดภาคเรียนที่ 1/2555
ระเบียบการ
 
 
 
กิจกรรมเสริมพิเศษ บริการสำหรับนักเรียน
  รถ รับ-ส่งของโรงเรียน
  ตรวจสุขภาพฟัน 6 เดือนครั้ง
  ประกันอุบัติเหตุ 24 ช.ม.
  ดูแลเด็กหลังเวลา 17.00 น
  อาหาร เช้า-กลางวัน-เย็น
  แนะแนวเรียนต่อโรงเรียนประถม
  ตรวจสุขภาพอนามัยในโรงเรียน
   
  เว็บไซต์น่าสนใจ
  นิมฺมโล สาระธรรมเพื่อชีวิตร่มเย็น
   
  โรงเรียนอนุบาลแสงอารีย์
โรงเรียนอนุบาลแสงอารีย์
4 ซ.ประชาอุทิศ 29 ถ.ประชาอุทิศ เเขวง-เขตราษฎร์บูรณะ กรุงเทพฯ 10140
โทร. 0-2427-6925, 0-2427-9875 แฟ็กซ์ 0-2872-7830
เว็บไซต์: www.sangaree.ac.th
อีเมล์: sangaree@sangaree.ac.th
ไลน์ไอดี: @sangaree